หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
สาขาวิชาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (อิสลามศึกษา)

ชื่อย่อ: ศศ.บ. (อิสลามศึกษา)


ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (Islamic Studies)

ชื่อย่อ: B.A. (Islamic Studies)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมต่อภาคการศึกษา 16,000 บาท

ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 128,000 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเฉพาะ 91 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

แนวทางการประกอบอาชีพ

- ครูอิสลามศึกษา ครูสังคมศึกษา ครูสอนภาษาอาหรับและอังกฤษ วิทยากรอิสลามศึกษา - เจ้าหน้าที่บุคคล เจ้าหน้าในบริษัทเอกชนทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ พนักงานต้อนรับ - เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในองค์กรสังคมการเมือง เศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษาและทั่วไป - ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวฮาลาลและธุรกิจอิสลามทั้งในและต่างประเทศ - นักสร้างคอนเทนต์ และนักการสื่อสารด้านอิสลามศึกษา - นักวิจัยด้านอิสลามศึกษา - ผู้นำด้านศาสนาอิสลามในชุมชน เช่น อีหม่ามมัสยิด พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลาม - ประกอบกิจการส่วนตัว

จุดเด่นของหลักสูตร

- รับทั้งนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษได้ - ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านอิสลามศึกษาที่เป็นสากล สามารถวินิจฉัยปัญหาจากทัศนะที่เป็นสากลเพื่อแก้ปัญหาสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ - มีทักษะในการใช้ภาษาอาหรับและอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างนวัตกรรมการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างสร้างสรรค์ - มีภาวะความเป็นผู้นำ มีทักษะการนำ เป็นผู้นำที่ยอมรับความแตกต่าง มีความเข้าใจ รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีอย่างเด่นชัด อีกทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ - มีทักษะมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นบนพื้นฐานของความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย - มีจิตสาธารณะเพื่อสังคมบนฐานอิสลาม แสดงออกถึงศักยภาพในการเป็นพลเมืองโลกที่มีความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรมของทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

PLO1: มีความรู้ด้านอิสลามศึกษาที่เป็นสากล เป็นนักคิดฐานความรู้อิสลาม การวินิจฉัยปัญหาจากทัศนะที่เป็นสากลเพื่อแก้ปัญหาสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ PLO2: มีทักษะในการใช้ภาษาอาหรับและอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อประกอบอาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์ PLO3: แสดงออกถึงการมีภาวะผู้นาที่ยอมรับความแตกต่าง มีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีอย่างเด่นชัด PLO4: มีจิตสาธารณะเพื่อสังคมบนฐานอิสลาม แสดงออกถึงศักยภาพในการเป็นพลเมืองโลกที่มีความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรมของทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

- สหกิจศึกษา

- ฝึกประสบการณ์/ฝึกงาน

เอกสารเพิ่มเติม

ประธานหลักสูตร

ผศ.ดร.เกตุ อัสมิมานะ

ประธานหลักสูตร

วีดีโอแนะนำหลักสูตร

สื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร

สื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร
ติดต่อเรา

คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ประเทศไทย 94000

073-331-305

prfais@psu.ac.th