หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาอิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย

ชื่อเต็ม: ศิลปศาสตรบัณฑิต (อิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม)

ชื่อย่อ: ศศ.บ. (อิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม)

ภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม: Bachelor of Arts (Islamic Studies and Islamic Laws)

ชื่อย่อ: B.A. (Islamic Studies and Islamic Laws)


ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมต่อภาคการศึกษา 16,000 บาท

ค่าธรรมเนียมตลอดหลักสูตร 128,000 บาท


โครงสร้างหลักสูตร

ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตที่ศึกษาตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

แนวทางการประกอบอาชีพ

วิชาเอกอิสลามศึกษา - บุคลากร พนักงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น นักวิชาการศึกษาสำนักงานการศึกษาเอกชน ครูอิสลามศึกษาโรงเรียนรัฐและเอกชน ครูตาดีกา วิทยากรอิสลามศึกษา เจ้าหน้าที่บุคคล นักวิชาการศึกษาทั่วไป ครูสอนอัลกุรอาน ครูสอนอิสลามศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่ เป็นต้น - นักวิจัยด้านอิสลามศึกษา - เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในองค์กรสังคมการเมือง เศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา - ผู้นำด้านศาสนาอิสลามในชุมชน เช่น อีหม่ามประจำมัสยิด พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นต้น - ประกอบกิจการส่วนตัว วิชาเอกกฎหมายอิสลาม - บุคลากรภาครัฐและเอกชน เช่น นิติกร ดะโต๊ะยุติธรรม พนักงานในศาลจังหวัด สำนักงานยุติธรรมจังหวัด สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในสถานประกอบการหะลาลโรงแรมหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น - บุคลากรภาคเอกชนหรือพนักงานในสถาบันการเงินอิสลาม เช่น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สหกรณ์อิสลาม และบริษัทประกันภัยแบบอิสลาม (ตะกาฟุล) เป็นต้น - นักการศึกษา นักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยด้านกฎหมายอิสลาม และวิทยากรด้านอิสลามศึกษา - ผู้นำด้านศาสนาอิสลามในชุมชน เช่น อีหม่ามประจำมัสยิด พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นต้น - ประกอบกิจการส่วนตัว


จุดเด่นของหลักสูตร

วิชาเอกอิสลามศึกษา - ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม - มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาการอิสลาม - มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสมดุล - บูรณาการความรู้เพื่อดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ วิชาเอกกฎหมายอิสลาม - เรียนรู้กฎหมายอิสลามอย่างละเอียดครอบคลุมวิถีชีวิตของมุสลิม - กฎหมายอิสลามเปรียบเทียบ 4 มัซฮับ - เน้นมัซฮับชาฟีอีย์เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย - เป็นหลักสูตรที่ได้รับความร่วมมือจากคณะนิติศาสตร์ ในลักษณะ Second Degree (เฉพาะวิชาเอกกฎหมายอิสลาม)


ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

PLO 1 คิดวิเคราะห์ความรู้หลักการอิสลามและกฎหมายอิสลามที่สอดคล้องกับการดารงชีวิตประจาวัน PLO 2 ใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อิสลามและกฎหมายอิสลามในการใช้ชีวิตร่วมกันใน สังคมอย่างสร้างสรรค์ PLO 3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและนาเสนอหลักการอิสลาม และกฎหมายอิสลามที่สอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์และสังคม PLO 4 แสดงออกถึงภาวะผู้นา การปรับตัวและทางานร่วมกับผู้อื่นโดยคานึงถึงประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง PLO 5 คิดวิเคราะห์ปัญหาร่วมสมัยในสังคมพหุวัฒนธรรมตามหลักการอิสลามบน พื้นฐานหลักวะสะฎียะฮ์ PLO 6 ประยุกต์ใช้และบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้อิสลามศึกษา เพื่อพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ PLO 7 วินิจฉัยปัญหาร่วมสมัยในสังคมพหุวัฒนธรรมตามหลักกฎหมายอิสลามบนพื้นฐานหลักวะสะฎียะฮ์ PLO 8 บูรณาณาการและประยุกต์ใช้หลักกฎหมายอิสลามร่วมกับกฎหมายไทยในการแก้ปัญหาและจัดการสังคม พร้อมให้ทางออกในประเด็นร่วมสมัยตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์


การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

- สหกิจศึกษา

- ฝึกประสบการณ์/ฝึกงาน


เอกสารเพิ่มเติม



ช่องทางการติดตาม

ผศ.ดร.อุสมาน ยูนุ

ประธานหลักสูตร


usamarn.y@psu.ac.th

วีดีโอแนะนำหลักสูตร

สื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร

ติดต่อเรา

073-331-305

prfais@psu.ac.th

คณะวิทยาการอิสลาม 181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ประเทศไทย 94000