สาขาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะวิทยาการอิสลาม ม.อ. ปัตตานี
สาขาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษาหลักสูตรนานาชาติ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
Bachelor of Arts Program in Islamic Studies International Program
--------------------------------
ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (อิสลามศึกษา)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) ศศ.บ. (อิสลามศึกษา)
อักษรย่อปริญญา (English) B.A. (Islamic Studies)
ดาวน์โหลดเอกสารคู่มือ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (อิสลามศึกษา)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) ศศ.บ. (อิสลามศึกษา)
อักษรย่อปริญญา (English) B.A. (Islamic Studies)
ดาวน์โหลดเอกสารคู่มือ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 91 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
การจัดการเรียนการสอน
- จัดการเรียนการสอนแบบการสอนแบบเชิงรุก (active learning)ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุกรายวิชาในหลักสูตร
- การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Laerning: WIL) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหน่วยกิตในหมวดวิชาเฉพาะของหลักสูตร- กำหนดให้รายวิชาใช้ภาษาอาหรับร้อยละ 50 ของรายวิชาในหลักสูตรและภาษาอังกฤษในการจัดการการเรียนการสอนร้อยละ 50 ของรายวิชาในหลักสูตร
- หลักสูตรสามารถเลือกเรียนได้ 2 รูปแบบ คือแบบเข้าชั้นเรียนปรกติ (Onsite) และแบบผสมผสาน(Blended Learning) โดยแบบผสมผสานเป็นการเรียนผ่านระบบออนไลน์โดยมีระยะเวลา 2 ปี และนักศึกษาต้องมาเรียนที่มหาวิทยาลัยอีก 2 ปี เพื่อจบหลักสูตร
แผนการศึกษา
คำอธิบายรายวิชา
ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร 4 ปี
ค่าธรรมการศึกษา ภาคการศึกษาปกติละ 16,000 บาท
อาชีพในอนาคต
- ครูอิสลามศึกษา ครูสังคมศึกษา ครูสอนภาษาอาหรับและอังกฤษ วิทยากรอิสลามศึกษา
- เจ้าหน้าที่บุคคล เจ้าหน้าในบริษัทเอกชนทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ พนักงานต้อนรับ
- เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในองค์กรสังคมการเมือง เศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษาและทั่วไป
- เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในองค์กรสังคมการเมือง เศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษาและทั่วไป
- ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวฮาลาลและธุรกิจอิสลามทั้งในและต่างประเทศ
- นักสร้างคอนเทนต์ และนักการสื่อสารด้านอิสลามศึกษา
- นักวิจัยด้านอิสลามศึกษา
- ผู้นำด้านศาสนาอิสลามในชุมชน เช่น อีหม่ามมัสยิด พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลาม
- ผู้นำด้านศาสนาอิสลามในชุมชน เช่น อีหม่ามมัสยิด พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลาม
- ประกอบกิจการส่วนตัว
จุดเด่น/เอกลักษณ์ของหลักสูตร
- รับทั้งนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษได้
- ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านอิสลามศึกษาที่เป็นสากล สามารถวินิจฉัยปัญหาจากทัศนะที่เป็นสากลเพื่อแก้ปัญหาสังคมได้อย่างสร้างสรรค์
- มีทักษะในการใช้ภาษาอาหรับและอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างนวัตกรรมการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างสร้างสรรค์
- มีภาวะความเป็นผู้นำ มีทักษะการนำ เป็นผู้นำที่ยอมรับความแตกต่าง มีความเข้าใจ รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีอย่างเด่นชัด อีกทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
- มีทักษะมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นบนพื้นฐานของความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย
- มีจิตสาธารณะเพื่อสังคมบนฐานอิสลาม แสดงออกถึงศักยภาพในการเป็นพลเมืองโลกที่มีความเข้าใจบริบทสังคมและวัฒนธรรมของทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล
อาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1. ดร.อับดุลลอฮ อัลอุซามะฮ์ Ph.D.(Islamic Creed & Philosophy) The World Islamic Sciences and Education University, Jordan
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาลี สาเมาะ Ph.D.(Islamic Call and Culture) The Islamic University of Madinah, Saudi Arabia
3. ดร.รุชดี ตาเห Ph.D.(Islamic Education) The Islamic University of Madinah, Saudi Arabia
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาลี สาเมาะ Ph.D.(Islamic Call and Culture) The Islamic University of Madinah, Saudi Arabia
3. ดร.รุชดี ตาเห Ph.D.(Islamic Education) The Islamic University of Madinah, Saudi Arabia
4. Asst.Prof.Dr.Abdulai M.Kaba Ph.D(Islamic Sciences) International Institution of IslamicThought and civilization,International Islamic University Malaysia,Malaysia
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาเซ็ม อัชชะรีฟ M.A.(Islamic Stuides) Prince of Songkla University, Thailand
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาเซ็ม อัชชะรีฟ M.A.(Islamic Stuides) Prince of Songkla University, Thailand
6. อ.ฟาตีเม๊าะ จะปะกิยา M.A.(Islamic Stuides) Prince of Songkla University, Thailand
7. Assoc. Prof. Dr. Mohamed Sharei Soliman Abouzeid Ph.D.(Quran and Sunnah Studies) Azhar University, Egypt
8. Dr. P.M.M. Irfan Ph.D.(Arabic Language for Non-Arabic Speakers) International University of Africa (IUA), Sudan
9. อาจารย์ Hesti Leviana Sary M.Ed.(English Education) The State University of Padang, Malaysia
7. Assoc. Prof. Dr. Mohamed Sharei Soliman Abouzeid Ph.D.(Quran and Sunnah Studies) Azhar University, Egypt
8. Dr. P.M.M. Irfan Ph.D.(Arabic Language for Non-Arabic Speakers) International University of Africa (IUA), Sudan
9. อาจารย์ Hesti Leviana Sary M.Ed.(English Education) The State University of Padang, Malaysia
ข้อมูลติดต่อ
งานรับนักศึกษา คณะวิทยาการอิสลาม ม.อ.ปัตตานี
โทร 073-313928 to 50 ext. 2240
080-948-2855 สาขาวิชาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
080-948-2855 สาขาวิชาอิสลามศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)