สาขาวิชาอิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
Bachelor of Arts Program in Islamic Studies and Islamic Laws

ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (อิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) ศศ.บ. (อิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม)
อักษรย่อปริญญา (English) B.A. (Islamic Studies and Islamic Laws)

ดาวน์โหลดเอกสารคู่มือ  
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565   
 
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต
มี 2 วิชาเอก คือ
   - อิสลามศึกษา (Islamic Studies)
   - กฎหมายอิสลาม (Islamic Laws)

โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 30 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 90 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต
 
การจัดการเรียนการสอน
- จัดการเรียนการสอนแบบการสอนแบบเชิงรุก (active learning) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของรายวิชาในหลักสูตร
- จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 52.80 ของรายวิชาในหลักสูตร
- กำหนดให้มีรายวิชาสหกิจศึกษา โดยมีผู้ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนนักศึกษาในหลักสูตร
- กำหนดให้รายวิชาใช้ภาษาอังกฤษร้อยละ 50 ของรายวิชาในหลักสูตรและภาษาไทยกับภาษาอาหรับในการจัดการเรียนการสอนร้อยละ 50 ของรายวิชาในหลักสูตร
 
 
ระยะเวลาการศึกษา หลักสูตร 4 ปี
 
 
อาชีพในอนาคต
วิชาเอกอิสลามศึกษา

- บุคลากร พนักงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น นักวิชาการศึกษาสำนักงานการศึกษาเอกชน  ครูอิสลามศึกษาโรงเรียนรัฐและเอกชน ครูตาดีกา วิทยากรอิสลามศึกษา เจ้าหน้าที่บุคคล นักวิชาการศึกษาทั่วไป ครูสอนอัลกุรอาน ครูสอนอิสลามศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่ เป็นต้น
- นักวิจัยด้านอิสลามศึกษา
- เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในองค์กรสังคมการเมือง เศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา
- ผู้นำด้านศาสนาอิสลามในชุมชน เช่น อีหม่ามประจำมัสยิด พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นต้น
- ประกอบกิจการส่วนตัว
วิชาเอกกฎหมายอิสลาม
- บุคลากรภาครัฐและเอกชน เช่น นิติกร ดะโต๊ะยุติธรรม พนักงานในศาลจังหวัด สำนักงานยุติธรรมจังหวัด สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เจ้าหน้าที่หรือพนักงานในสถานประกอบการหะลาลโรงแรมหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
- บุคลากรภาคเอกชนหรือพนักงานในสถาบันการเงินอิสลาม เช่น ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สหกรณ์อิสลาม และบริษัทประกันภัยแบบอิสลาม (ตะกาฟุล) เป็นต้น
- นักการศึกษา นักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยด้านกฎหมายอิสลาม และวิทยากรด้านอิสลามศึกษา
- ผู้นำด้านศาสนาอิสลามในชุมชน เช่น อีหม่ามประจำมัสยิด พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นต้น
- ประกอบกิจการส่วนตัว

จุดเด่น/เอกลักษณ์ของหลักสูตร
วิชาเอกอิสลามศึกษา

- ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม
- มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาการอิสลาม
- มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสมดุล
- บูรณาการความรู้เพื่อดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
วิชาเอกกฎหมายอิสลาม
- เรียนรู้กฎหมายอิสลามอย่างละเอียดครอบคลุมวิถีชีวิตของมุสลิม
- กฎหมายอิสลามเปรียบเทียบ 4 มัซฮับ
- เน้นมัซฮับชาฟีอีย์เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย
- เป็นหลักสูตรที่ได้รับความร่วมมือจากคณะนิติศาสตร์ ในลักษณะ Second Degree (เฉพาะวิชาเอกกฎหมายอิสลาม)
โทร 073-313928 to 50 ext. 2240
086-9596694 098-738-3262 สาขาวิชาอิสลามศึกษาและกฎหมายอิสลาม

 




 
+66-7333-1305
pr.fais@g.psu.ac.th
Line Official
Facebook Messenger
LinkedIn